วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคเกลื้อน




                                      โรคเกลื้อน 

เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังทั่วไปชนิดหนึ่ง เกิดจากราที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง ปรากฏในลักษณะเป็นดวงเล็ก ๆ ที่อาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวปกติบริเวณรอบ โดยมักเกิดขึ้นที่ลำตัวหรือต้นแขน และหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาก็จะสามารถรวมตัวกันและขยายเป็นดวงใหญ่ขึ้น
เกลื้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Tinea versicolor หรือ Pityriasis versicolor) คือ โรคผิวหนัง ภาวะการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เกิดจากเชื้อรา ชื่อ Malassezia spp. เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนที่ต้องใช้แรงงานกลางแจ้ง คนที่ต้องแบกหามใช้กำลัง นักกีฬา  คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง บริเวณต่อมไขมัน 










ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน
สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะดรคเบาหวาน

อาการของเกลื้อน
บริเวณที่ขึ้น : มีผื่นขึ้นกระจายอยู่ในบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง ใบหน้า เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก มีบ้างที่พบขึ้นบริเวณลำคอ หน้าท้อง และต้นแขน แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบขึ้นที่บริเวณใบหน้า (เกลื้อนเป็นโรคเชื้อราที่เกิดขึ้นได้เฉพาะกับผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น)









รูปร่าง ขนาด และจำนวน : ผื่นจะมีลักษณะขึ้นเป็นดวงกลม ๆ หรือเป็นรูปวงรี ขนาดเล็ก ๆ ประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่า จำนวนหลายดวง ซึ่งตัวผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้


สี : ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นบนผิวหนังที่มีสีแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยมีตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีน้ำตาลจาง ๆ ไปจนถึงสีน้ำตาลแดง จึงมักทำให้ผิวหนังมีสีซีดจางกว่าผิวหนังปกติข้างเคียง (Hypopigmentation) หรือมีสีเข้มกว่าสีผิวหนังปกติข้างเคียง (Hyperpigmentation) ก็ได้ แต่ในคนไทยมักจะพบว่าเป็นแบบสีซีดจางมากกว่า (ผื่นมีสีขาวเกิดจากเชื้อราสร้างเอนไซม์ที่ไปขัดขวางการสร้างเม็ดสีของเซลล์ของผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ส่วนผื่นที่มีสีอื่น ๆ นั้น จะเกิดจากเชื้อราไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีและผลิตเม็ดสีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น)



ลักษณะ : ผื่นที่ขึ้นเป็นเกลื้อนจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตชัดเจน ผิวสัมผัสของผื่นจะไม่เรียบ (มีลักษณะย่นเล็กน้อย) และมีเกล็ดบางเลื่อมสีขาว น้ำตาล หรือแดงเรื่อ ๆ คลุมอยู่บนผิว ในระยะที่เป็นใหม่ ๆ เมื่อเอาเล็บขูดที่ผื่นเหล่านี้จะร่วนออกเป็นขุยขาว ๆ


สาเหตุของโรคเกลื้อน
เกลื้อนเกิดจากเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่อยู่ตามผิวหนัง โดยปกติผิวของคนเราส่วนใหญ่จะมีเชื้อราชนิดนี้อยู่แล้ว แต่จะส่งผลให้ติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เชื้อรานี้เติบโตขึ้นก็ยังไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามีปัจจัยที่เป็นตัวเร่ง ได้แก่
  • อากาศร้อนและชื้น
  • ผิวมัน
  • มีเหงื่อออกมากเกินไป
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงอายุ 20 ปีตอนต้น
ทั้งนี้การเกิดของเกลื้อนไม่เกี่ยวกับการไม่รักษาสุขอนามัยแต่อย่างใด โดยสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจะไม่แพร่ไปสู่ผู้อื่น เพราะคนส่วนใหญ่มักมียีสต์มาลาสซีเซียอยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว
การวินิจฉัยโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนสามารถตรวจดูได้ด้วยการใช้ตาเปล่าสังเกตลักษณะของดวงเกลื้อน หรือแพทย์อาจใช้แสงอัลตร้าไวโอเล็ตส่องวินิจฉัย โดยหากเป็นการติดเชื้อจากเชื้อราตัวดังกล่าวจะส่งผลให้ผิวบริเวณนั้นเรืองแสงขึ้น
ในกรณีที่การสังเกตลักษณะเกลื้อนไม่อาจวินิจฉัยได้ชัดเจน แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเชื้อรา ด้วยการขูดเอาเซลล์ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อเบา ๆ แล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูว่ามีเชื้อที่เป็นสาเหตุอยู่หรือไม่
การรักษาโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนสามารถรักษาให้หายด้วยยาต้านเชื้อราที่อาจอยู่ในรูปแบบแชมพู ครีม หรือยารับประทานก็ได้
แชมพูขจัดเชื้อรา ในขั้นแรกของการรักษา แพทย์มักแนะนำให้ใช้แชมพูขจัดเชื้อราที่ประกอบด้วยตัวยาต้านเชื้อรา เช่น คีโตโคนาโซน (Ketoconazole) หรือซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium sulphide) ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายแชมพูนี้ให้ผู้ป่วย หรือหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก็ได้
การรักษาใช้ทาบนบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อราทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ค่อยล้างออก และควรทาซ้ำนาน 5-7 วัน ข้อควรระวังในการใช้คือยานี้สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองหรือแสบร้อนผิวหนัง โดยเฉพาะตัวยาซีลีเนียมซัลโฟด์ที่มีความรุนแรงและมีกลิ่นแรงกว่า สามารถนำไปผสมน้ำเพื่อทำให้เจือจางลงก่อนทา
ครีมหรือเจลขจัดเชื้อรา กรณีที่ผิวหนังติดเชื้อราเพียงจุดเล็ก ๆ อาจรักษาด้วยครีมขจัดเชื้อรา โดยทาวันละ 1-2 ครั้ง ลงบนผิวหนังเช่นเดียวกับการใช้แชมพู แต่ไม่ต้องล้างออก ครีมต้านเชื้อรานี้บางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง แต่พบได้ไม่บ่อยครั้ง ยาต้านเชื้อราประเภทครีม ได้แก่ โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโครนาโซล (Miconazole) และเทอร์บินาฟีน (Terbinafine) เป็นต้น
ยาต้านเชื้อรา ผิวหนังที่ติดเชื้อราเป็นบริเวณกว้าง หรือการใช้แชมพูและครีมไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจได้รับยาชนิดรับประทานจากแพทย์ เช่น ฟลูโคนาโซล  และไอทราโคนาโซล  เป็นระยะเวลา 1-4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ยานี้มักไม่ค่อยพบผลข้างเคียงการใช้ แต่หากมีก็อาจทำให้มีผื่นคัน รู้สึกป่วย และปวดท้องในระหว่างที่รับประทานยานี้
ยา ครีม และแชมพูขจัดรังแคเหล่านี้อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนกว่าผิวหนังจะกลับมาเป็นสีปกติ หรืออาจต้องรักษาซ้ำหากเป็นนานหรือกลับไปเป็นอีกครั้ง
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเกลื้อนบ่อยครั้งและมีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาสั่งจ่ายยาต้านเชื้อราให้รับประทาน 2-3 ครั้งต่อเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออีก
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนไม่ได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ต่อร่างกาย แต่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายจากการเป็นโรค เนื่องจากสามารถสังเกตเห็นได้ชัด และคนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจว่าโรคกลากและเกลื้อนนั้นเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด แม้แท้จริงแล้วการเกิดเกลื้อนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขอนามัยแต่อย่างใด
การป้องกันโรคเกลื้อน
โรคเกลื้อนมีโอกาสกลับไปเป็นอีกครั้งได้ง่าย แม้ว่าจะรักษาหายไปแล้ว โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนหรือเมื่ออากาศร้อนชื้น การป้องกันการติดเชื้อราอีกครั้งสามารถทำได้ด้วยการใช้แชมพูขจัดเชื้อราเป็นประจำ ทุก 2-4 สัปดาห์ หรือวันละ 1 ครั้ง ในช่วง 2-3 วันก่อนออกไปทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสอากาศร้อนนาน ๆ หรือทำให้มีเหงื่อออกมาก
นอกจากการใช้แชมพูขจัดเชื้อราทำความสะอาดเป็นประจำแล้ว ยังมีข้อปฏิบัติที่ทำได้ดังนี้
  • เลี่ยงการทำให้เหงื่อออกมาก
  • เลี่ยงการเผชิญแสงแดดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากจะกระตุ้นให้อาการแย่ลงและเห็นเกลื้อนชัดขึ้น อาจใช้หมวกหรือผ้าคลุมกันแดด
  • ควรทาครีมกันแดดทุกวัน เลือกใช้สูตรที่มีความมันน้อย และมี SPF 30 ขึ้นไป
  • เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทาผิวที่เป็นน้ำมันหรือมีส่วนผสมของน้ำมัน
  • เลือกสวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนและความชื้น เพื่อลดเหงื่อออก เช่น ผ้าฝ้าย
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป

สมุนไพรรักษาโรคเกลื้อน

1.  กะเพรา

 กะเพราที่เรากิน ๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่อร่อยอย่างเดียว แต่ยังสามารถรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ด้วยนะ โดยนำเอาใบกะเพราสด 20 ใบ  ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำละเอียดจนมีน้ำออกมา จากนั้นก็นำมาทาที่แผล แนะนำให้ถูแรง ๆ ปล่อยทิ้งไว้สักพัก แล้วล้างออก เสร็จแล้วก็พอกใหม่ ควรพอกบ่อย ๆ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น




2.  ดอกผักบุ้ง

 ผักบุ้งนา หรือ ผักบุ้งแดงที่เราพบได้ทั่วไปตามท้องนาก็นำมารักษากลากเกลื้อนได้ด้วยนะคะ โดยการนำดอกตูมประมาณ 10 ดอก มาโขลกเบา ๆ แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนปล่อยไว้สักพัก ทำเป็นประจำเช้า-เย็น แล้วกลากเกลื้อนก็จะหายไป


3.ใบชุมเห็ดเทศ

อาจไม่ค่อยคุ้นหูมากนักกับสมุนไพรชนิดนี้ แต่มันมีสรรพคุณมากมายทีเดียว ทั้งรักษาอาการท้องผูก รักษากระเพาะอาหารอักเสบ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ และแน่นอนรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำใบชุมเห็ดเทศประมาณ 4-5 ใบ ตำใส่กระเทียม 4-5 กลีบ ให้ละเอียด แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย จากนั้นทาบริเวณที่มีอาการวันละ 3-4 ครั้งจนหาย แต่ถึงหายแล้วก็ให้ทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์เพื่อให้เชื้อราหายสนิท

  4.ใบพลู

 ใบพลูถือเป็นสมุนไพรที่คนไทยนิยมใช้ประโยชน์กันมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนที่กินร่วมกันกับหมาก และสมัยนี้ที่นำไปเป็นเครื่องบูชาหรือสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย แต่ใบพลูยังมีประโยชน์นอกเหนือจากนั้นอีกนะคะ เช่น มีฤทธิ์ที่สามารถฆ่าเชื้อราและยับยั้งแบคทีเรียได้ จึงทำให้รักษากลากเกลื้อนได้เหมือนกัน โดยนำมาตำให้ละเอียด ดองกับเหล้าขาว 15 วัน จากนั้นก็กรอกเอาน้ำมาทาในบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน


5.ข่า

ข่า เป็นสมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้านมาก ๆ เพราะรักษาได้ทั้งท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารเป็นพิษ ลมพิษ โรคผิวหนัง และกลากเกลื้อน ในส่วนการรักษาโรคกลากเกลื้อนโดยข่า จะใช้เหง้าข่าแก่ ขนาดประมาณเท่านิ้วโป้งค่ะ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว คนจนละลาย เสร็จแล้วนำไปทาตรงที่เป็นแผล สามารถทาบ่อย ๆ ได้จนกว่าแผลจะหายเลย

 6. กระเทียม

  สมุนไพรใกล้ตัวเราอย่างกระเทียมก็สามารถรักษากลากเกลื้อนได้นะคะ วิธีก็ง่าย ๆ แค่นำกลีบกระเทียมที่ปอกเปลือกและล้างสะอาดแล้ว มาตำเบา ๆ ให้พอแหลก จากนั้นจึงนำมาถูบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน ปล่อยทิ้งไว้ 30 นาที เสร็จแล้วก็ล้างออก ควรทำวันละ 3-4 ครั้ง และถึงแม้อาการกลากเกลื้อนจะดีขึ้นแล้ว ก็ควรทาต่ออีกประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อราที่ดียิ่งขึ้น


7. ทองพันชั่ง

  ทองพันชั่งเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ทั้งต้น ใบ ราก และก้านเลยทีเดียว โดยในส่วนของการรักษากลากเกลื้อนนั้น เราจะสามารถเลือกใช้ได้ทั้งรากและใบเลยค่ะ วิธีการนำทองพันชั่งมารักษาก็มีด้วยกันถึง  4 วิธี ไม่ว่าจะเป็นการนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเหล้าเล็กน้อย หรือนำใบสดที่ตำละเอียดผสมกับน้ำมันดิบแล้วทาบริเวณแผล วิธีนี้ควรทาเพียงวันละครั้งเท่านั้นนะคะ โดยจะใช้เวลาประมาณ 3 วันก็หายแล้ว ส่วนวิธีที่ 3 คือการนำรากสดและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่องมาตำจนละเอียด จากนั้นผสมวาสลีน แล้วก็นำมาใช้ได้เลยค่ะ  และสุดท้ายวิธีที่ 4 ให้นำรากมาบดละเอียดแล้วผสมกับน้ำมะนาวและน้ำมะขาม เสร็จแล้วก็นำมาทาที่แผลได้เลย


อ้างอิง
ht/tps://www.pobpad.com
https://health.kapook.com


         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น